วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

รายการสินค้า

การปลูกและการดูแลรักษา
          ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว  ระยะ 3 ถึง 4 x 3 เมตร อายุต้นกล้า 6 ถึง 14 เดือน และควรมีการทำร่มเงาชั่วคราวหรือปลูกพืชให้ร่มเงา เช่น สะตอ แค กระถิน เป็นพืชร่วมด้วย
การเตรียมพื้นที่

          พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟควรเป็นพื้นที่ที่มีความสูง ประมาณ 800 ถึง 12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความลาดชันไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และต้องทำการกำจัดวัชพืชโดยการถางให้โล่ง การโค่นล้มพืชพรรณเก่าในพื้นที่ อาจจะโค่นล้มแบบเหลือตอ หรือโค่นล้มแบบถอนราก การโค่นล้มอาจจะเว้นต้นไม้เก่าไว้บ้างเพื่อใช้เป็นไม้ร่มเงา ซึ่งต้องพิจารณาถึงความจำเป็นของไม้ร่มเงาด้วย หลังจากโค่นล้มต้องมีการกำจัดพืชพรรณเก่าในแปลงโดยการกองแล้วเผาให้สะอาด เตรียมทำแนวระดับ การเตรียมพื้นที่ส่วนมากเริ่มเตรียมในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้พร้อมสำหรับปลูกกาแฟในฤดูฝนที่จะมาถึง (ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็นกรดด่าง 5.5  ถึง 6.5 และสามารถระบายน้ำได้ดี

การเตรียมต้นกล้ากาแฟ  

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมต้นกล้า
  • เตรียมแปลงเพาะเมล็ดกาแฟโดยใช้ทรายผสมกับขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 ต่อ 1 เกลี่ยลงในกระบะหรือแปลงที่สามารถระบายน้ำได้ดี ซึ่งแปลงเพาะเมล็ดนี้ควรอยู่ในโรงเรือนที่มีหลังคาบังแดดให้แสงเข้าได้ 50 เปอร์เซ็นต์ และปราศจากสัตว์เลี้ยงเข้าไปขุดคุ้ย รบกวน
  • นำเมล็ดพันธุ์กาแฟที่แช่น้ำผสมยาฆ่าเชื้อรา เช่น สารประกอบทองแดง แช่ไว้เป็นเวลา 1 คืนมาเพาะลงในแปลงที่เตรียมไว้ โดยใช้ไม้กดเป็นร่องห่างกันประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วโรยเมล็ดลงไป
    หมายเหตุ: เมล็ดพันธุ์กาแฟที่ใช้ควรเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดี มาจากต้นแม่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้  มีอัตราการงอกสูง (เมล็ดไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน)
  • รดน้ำอย่างสม่ำเสมอจนเมล็ดงอกขึ้นมา ระยะเวลาจากการที่มีเมล็ดงอกขึ้นมาเป็นระยะหัวไม้ขีด ใช้เวลาประมาณ 30 ถึง 45 วัน และระยะที่มีใบเลี้ยงหรือระยะปีกผีเสื้อ ใช้เวลาประมาณ 46 ถึง 60 วัน ให้ทำการถอนต้นกาแฟไปปลูกต่อในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมถุงพลาสติกใส่ดิน

ส่วนผสมของดินที่จะนำมาบรรจุถุงมีดังนี้
  • หน้าดินดำ จำนวน 5 ปี๊บ (หากไม่มีหน้าดินดำใช้ดินร่วน ทรายหยาบ และขี้เถ้าแกลบชนิดละ 1 ส่วน)
  • ปุ๋ยคอก จำนวน 1 ปี๊บ
  • ปูนขาว (โดโลไมท์) จำนวน 200 กรัม
  • หินฟอสเฟต (0-3-0)  จำนวน 200 กรัม
  • ฟูราดาน จำนวน 25 กรัม
ขั้นตอนในการทำ มีดังนี้
  • นำส่วนผสมมากองเป็นชั้นๆ ไล่จากส่วนผสมที่มีปริมาณมากที่สุดไปไปหาปริมาณน้อยที่สุด (ดิน > ปุ๋ยคอก > ปูนขาว > หินฟอสเฟต > ฟูราดาน ตามลำดับ) นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • เตรียมถุงพลาสติกสีดำสำหรับใช้เพาะกล้า  โดยขนาดถุง กว้าง 7 นิ้ว สูง 10 นิ้ว (ถุง
ไม่พับ) หรือกว้าง 4 นิ้ว สูง 10 นิ้ว (ถุงพับที่ก้น) เจาะรูระบายน้ำ จำนวน 3 แถว โดยให้แถวแรกห่างจากก้นถุงประมาณ 2 ถึง 3 นิ้ว
  • นำดินที่ผสมแล้วไปบรรจุในถุงให้แน่นและใส่ให้เต็มจนถึงปากถุง เท่ากับจำนวนกล้าที่เพาะเมล็ดไว้ นำไปเรียงไว้ในเรือนเพาะชำ แล้วถอนต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดที่เพาะไว้ในระยะหัวไม้ขีด ถึงระยะปีกผีเสื้อนำมาในถุงพลาสติก
หมายเหตุ: หากต้นกล้าแก่เกินไปจนเกิดใบจริงและจะทำให้รากยาวเกินไป ก่อให้เกิดปัญหารากคดงอระหว่างย้าย และส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตต่ำ
  • ให้น้ำสม่ำเสมอเช้าและเย็น จนต้นกล้าเจริญเติบโต ซึ่งใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 8 ถึง 12 เดือน โดยต้นกล้าที่ดีจะต้องมีลักษณะต้นตรง มีความแข็งแรง ทุกข้อมีจำนวนใบอยู่ครบ  ไม่มีโรคและแมลงเข้าทำลาย มีความสูงประมาณ 45 เซนติเมตร มีจำนวนข้อประมาณ 6 ถึง 8 ข้อ (มีใบ 6 ถึง 8 คู่)
  • ต้นกล้าที่พร้อมจะนำไปปลูก จะต้องผ่านการทดสอบให้ได้รับแสงแดดมากขึ้นประมาณ 1 เดือนก่อนนำไปปลูก เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงและมีอัตรารอดตายสูงเมื่อนำไปปลูกลงในแปลง
การปลูก 

          การปลูกกาแฟโดยทั่วไปจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้ปลูกเองหลักการโดยทั่วไปคือ การกำหนดระยะปลูก ประชากรที่เหมาะสมของกาแฟที่จะให้ผลผลิตที่ดี จะอยู่ประมาณ 150 ถึง 200 ต้นต่อไร่แต่สามารถที่จะเพิ่มหรือลดจำนวนกว่าปกติได้ ขึ้นกับวิธีการปลูกดังนี้ คือหากจะเพิ่มจำนวนให้มากกว่านี้ การตัดแต่งต้นกาแฟจำเป็นจะต้องออกแบบให้เหมาะสมเพื่อให้ต้นกาแฟสามารถรับแสงเต็มที่ในการติดดอกออกผล บางครั้งจะต้องตัดทั้งต้นสลับแถวเพื่อให้เกิดช่องว่างในพื้นที่  แล้วต้องเลี้ยงต้นใหม่จนอายุ ประมาณ 3 ปีก็จะออกดอกติดผลอีก แต่ก็ต้องตัดต้นกาแฟในแถวใกล้เคียงกันออกเพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับต้นใหม่เช่นกัน โดยมีหลักการว่าต้นกาแฟจะติดดอกออกผลเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปีและต้นกาแฟที่อายุมากขึ้นจะให้ผลผลิตลดลงและการจัดการจะยุ่งยากมากขึ้น ดังนั้นการจัดการวิธีการปลูกจะต้องวางแผนให้แน่นอนและชัดเจน

          การปลูกส่วนมากแล้วจะมาจากต้นกล้าที่ชำในถุงพลาสติก  ดังนั้นก่อนที่จะนำลงปลูกในหลุมจำเป็นที่จะต้องนำถุงพลาสติกออกเสียก่อน แล้วนำมาวางในหลุมที่ขุดให้มีขนาดพอใส่ถุงลงได้ และระมัดระวังอย่าให้รากแก้งคดงอ หลังจากนั้นนำดินมาใส่ให้เต็มโคนต้นและกดรอบๆ โคนต้นให้ดินแน่น ในกรณีที่ปลูกจากต้นกล้าที่ชำในแปลง และมีการถอนรากควรเลือกช่วงปลูกที่มีฝนตกสม่ำเสมอ หากฝนไม่ตกควรรดน้ำจนกว่าต้นกล้าจะตั้งตัวได้

          ไม้ร่มเงา เป็นวิธีการที่นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงาแก่ต้นกาแฟในระยะแรก และมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน โดยไม้บังร่มกาแฟแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ไม้บังร่มเงาชั่วคราว และไม้บังร่มเงาถาวร โดยไม้ร่มเงาชั่วคราว ได้แก่ พืชล้มลุก เช่น ข้าวโพด ปอเทือง กล้วย เป็นต้น ส่วนไม้ร่มเงาถาวร ได้แก่ ไม้ยืนต้น เช่น สะตอ ทองหลาง มะพร้าว แค ขี้เหล็ก เป็นต้น แต่การปลูกไม้ร่มเงานั้นควรมีการจัดการตัดแต่งไม้ร่มเงา เพื่อให้ต้นกาแฟได้รับแสงที่เหมาะสมเพื่อการติดดอกออกผลที่เต็มที่ด้วย เพราะบางครั้งหากการจัดการไม่ดี ไม้ร่มเงาจะเป็นตัวต้นเหตุของการทำให้ผลผลิตกาแฟลดลงได้เพราะจะเป็นการบังต้นกาแฟมากเกินไป และอาจจะแย่งน้ำและอาหารจากต้นกาแฟได้

ระยะปลูก 

          ระยะปลูกที่เป็นมาตรฐาน คือ ระยะ 3 x 3 เมตร จะได้ปริมาณต้นกาแฟ จำนวน 177 ต้นต่อไร่ การปลูกที่มีการวางแผนจะเป็นการปลูกในลักษณะตัดเป็นแถว เรียกว่าการปลูกแบบฮาวาย ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องจัดระยะชิดกว่าที่กล่าวมา  ดังนั้นการเตรียมหลุมปลูก  หากมีการไถพรวนอย่างดีก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขุดหลุมให้มีขนาดกว้างมากนัก แต่หากไม่มีการไถพรวนจำเป็นที่จะต้องขุดหลุม ให้มีขนาดกว้าง 50 x 50 x 50 เซนติเมตร แล้วทำการกลบหลุม  ในขณะที่มีการเริ่มปลูกควรใส่ปุ๋ย Rock Phosphate (ปุ๋ยรองหลุม) จำนวนประมาณ 200 กรัมต่อหลุม
การให้น้ำ 

          พื้นที่ปลูกกาแฟที่เหมาะสม  ส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นที่ที่มีความสูงในระดับตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ซึ่งจะอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ  โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนตั้งแต่ระยะเวลา 5 ถึง  8 เดือน ในรอบ 1 ปี นอกจากนั้นยังมีสภาพอากาศหนาวเย็น และมีความชื้นสูง จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบการให้น้ำกับต้นกาแฟ และหากปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลยืนต้น หรือปลูกกาแฟภายใต้สภาพร่มเงาร่วมกับไม้ป่าโตเร็ว รวมถึงการคลุมโคนต้นก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ปลูกไม่ต้องพึ่งพาระบบชลประทาน
การตัดแต่งกิ่ง 

          การตัดแต่งแบบต้นเดี่ยวของอินเดีย (Indian Single Stem Pruning) หรือการตัดแต่งแบบทรงร่ม (Umbrella) เป็นวิธีการตัดแต่งกิ่งที่ใช้กับกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยมีขั้นตอนดังนี้
  1. เมื่อต้นกาแฟเจริญเติบโตจนมีความสูง 90 เซนติเมตร ต้องตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 75 เซนติเมตร
  2. เลือกกิ่งแขนงที่ 1 (Primary Branch) ที่อ่อนแอทิ้ง จำนวน 1 กิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยอดฉีกบริเวณส่วนกลางของกิ่งและต้องหมั่นตัดยอดที่จะแตกออกมาจากโคนกิ่งแขนงของลำต้นทิ้งทุกยอด และกิ่งแขนงที่ 1 จะให้ผลผลิตในระยะเวลา 2 ถึง 3 ปีก็จะแตกกิ่งแขนงที่ 2 (Secondary Branch) ส่วนกิ่งแขนงที่ 3 (Terriary Branch) และกิ่งแขนงที่ 4 (Quarternary Branch) ให้ผลผลิตช่วงระยะเวลา 1 ถึง 8 ปี
  3. เมื่อต้นกาแฟให้จำนวนผลผลิตลดลง จะต้องปล่อยให้มีการแตกยอดออกมาใหม่ 1 ยอดจากโคนของกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดหรือถัดลงมา และเมื่อยอดสูงไปถึงระดับ ความสูง 170 เซนติเมตร ตัดให้เหลือความสูงเพียง 150 เซนติเมตรโดยการตัดกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดให้เหลือเพียง 1 กิ่ง ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 8 ถึง 10 ปี
                การตัดแต่งแบบหลายลำต้น (Multiple stem pruning system) วิธีการนี้จะใช้กับต้นกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกอยู่บริเวณกลางแจ้ง โดยจะทำให้เกิดต้นกาแฟหลายลำต้น มาจากโคนต้นที่ถูกตัด แต่คัดเลือกเหลือเพียงลำต้น 2 ลำต้น ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
  1. เมื่อต้นกาแฟมีความสูงถึง 69 เซนติเมตร ให้ทำการตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 53 เซนติเมตร  หากเหนือพื้นดินมียอดแตกออกมาจากข้อโคนกิ่งแขนงที่ 1 จากคู่ที่อยู่บนสุด 2 ยอด จะต้องตัดกิ่งแขนงที่ 1 ทิ้งทั้ง 2 ข้าง
  2. ปล่อยให้ยอดทั้ง 2 ยอด เจริญเติบโตขึ้นไปทางด้านบน ในขณะเดียวกันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร จะเริ่มให้ผลผลิต
  3. กิ่งแขนงที่ 1 ซึ่งอยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร จะถูกตัดทิ้งไปหลังจากที่ให้ผลผลิตแล้ว ในขณะเดียวกันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ระดับล่างๆ ของลำต้นทั้งสองก็เริ่มให้ผลผลิต
  4. ต้นกาแฟที่เจริญเติบโตเป็นลำต้นใหญ่  2 ลำต้น จะสามารถให้ผลผลิตอีก จำนวน 2 ถึง 4 ปี และขณะเดียวกันก็จะเกิดหน่อขึ้นมาเป็นลำต้นใหม่อีกบริเวณโคนต้นกาแฟเดิม และควรปล่อยหน่อที่แตกใหม่ให้เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ และตัดให้เหลือเพียง 3 ลำต้น
  5. ให้ตัดต้นกาแฟเก่าทั้ง 2 ต้นทิ้งและเลี้ยงหน่อใหม่ที่เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้อีก จำนวน 2 ถึง 4 ปี แล้วจึงทำการตัดต้นเก่าเพื่อให้แตกต้นใหม่อีก
การคลุมโคนต้นกาแฟ 

          การคลุมโคนต้นกาแฟมีประโยชน์มาก  โดยเฉพาะในช่วงที่สวนกาแฟต้องประสบกับภาวะแห้งแล้ง เป็นการช่วยไม่ให้ต้นกาแฟทรุดโทรมหรืออาจจะตายได้ เนื่องจากขาดความชื้นในอากาศและในดิน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันวัชพืชที่จะงอกในแปลงกาแฟในขณะที่ทรงพุ่มกาแฟยังไม่ชิดกัน และยังเป็นการป้องกันการพังทลายของดินเมื่อเกิดฝนตกหนัก แต่มีข้อควรระวังในการคลุมโคนต้น คืออาจจะกลายเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูกาแฟ ดังนั้นการคลุมโคนต้นกาแฟควรจะคลุมโคนต้นให้ห่างจากต้นกาแฟประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูกาแฟกัดกะเทาะเปลือกกาแฟได้ หรือไม่ให้เกิดอันตรายกับโคนต้นกาแฟในระหว่างที่วัสดุคลุมโคนเกิดการย่อยสลายได้  โดยคลุมโคนต้นให้มีความกว้าง 1 เมตรและหนาไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร
การปราบวัชพืชและการใส่ปุ๋ย

          ควรมีการปราบวัชพืชทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย โดยอาจจะใช้ยาปราบวัชพืชหรือการถากถางตามระยะเวลาและความเหมาะสม และการใส่ปุ๋ยก็เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของการปลูกกาแฟ จะต้องพิจารณาทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองว่าต้องเพียงพอกับต้นกาแฟ  ซึ่งจะสังเกตลักษณะของใบได้ ซึ่งมีรายละเอียดมากมายเกินที่จะกล่าวในที่นี้ แต่สูตรปุ๋ยที่ใช้โดยทั่วไป มักจะเป็นสูตรที่มีการมีความนิยม คือ สูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-16-16 เป็นต้น วิธีการใส่ปุ๋ยนั้นจะใส่โดยการโรยลงบนดินเป็นลักษณะวงกลมรอบทรงพุ่ม โดยใส่ปุ๋ยในปีที่ 1 ถึง 3 ส่วนต้นกาแฟที่ยังไม่ให้ผลผลิต  ควรใส่ระยะเวลาประมาณ  2 ถึง 3 ครั้งต่อปี โดยใส่ครั้งละประมาณ 100 ถึง 300 กรัมต่อต้น  และควรมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มด้วยเพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดินควบคู่กันไปด้วย
อ้างอิง http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/coffee/controller/01-04.php

วิธีการชงกาแฟ

1.บดและตวง

ใช้กาแฟบดหยาบที่มีลักษณะคล้ายเกลือทะเล โดยตวงกาแฟ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 6 ออนซ์
เคล็ดลับ: 
กาแฟก็เหมือนการสร้างผลงาน แต่ละครั้งในการซื้อ ควรซื้อทีละน้อย เพื่อดื่มด่ำกับที่สุดของกาแฟสดใหม่

2.เติมน้ำร้อน

ใช้น้ำที่พักไว้สักครู่หลังจากที่น้ำเดือด และเทน้ำลงในเครื่องชงกาแฟ ดูให้แน่ใจว่าเทน้ำให้ท่วมกาแฟที่บดไว้
เคล็ดลับ: ใช้น้ำกรองหรือน้ำเปล่า เพื่อให้ได้รสชาติกาแฟที่ดีที่สุด

3.ใส่ก้านชงกาแฟและชง

หลังจากนั้นใส่ก้านชงกาแฟกลับเข้าไปในเครื่องชงโดยยังไม่ต้องกดก้านชงกาแฟ ให้รอจนครบ 4 นาที

4.กดและริน

เมื่อครบ 4 นาทีแล้ว ค่อยๆ กดก้านชงกาแฟลงไปจนถึงสุดก้าน กาแฟหอมกรุ่นก็พร้อมให้คุณได้ดื่มด่ำ
แหล่งอ้างอิง http://th.starbucks.co.th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F/%E0%B8%A7-%E0%B8%98-%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F

Doi chaang coffee beans (เมล็ดกาแฟ)



DOI CHAANG – DECAF COFFEE

กาแฟสกัดสารคาเฟอีน เป็นกาแฟที่ผ่านการสกัดสารคาเฟอีนออกจากตัวกาแฟโดยกระบวนการ Swiss Water Process ซึ่งจะใช้น้ำในการสกัด โดยไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น กระบวนการสกัดนี้ทำให้สกัดสารคาเฟอีนออกไปได้ 99.99% ซึ่งเป็นปริมาณสารคาเฟอีนที่ไม่มีผลต่อร่างกาย

น้ำหนัก = 50 g./กระป๋อง ,  ราคา/กระป๋อง = 150.-

(หมายเหตุ : ราคาสินค้าดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)



Doi Chaang Peaberry (Organic)

กาแฟพีเบอร์รี่ คัดสรรเฉพาะผลกาแฟเมล็ดเดี่ยวหรือเมล็ดโทน ได้รับการ Certified Organic จาก USDA และ EU โดยตรารับรองดังกล่าวเป็นการรับรองว่าสินค้านั้นมีการเพาะปลูก และบริหารจัดการพื้นที่ปลูกภายใต้ข้อกําหนดของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาและจากสหภาพยุโรป ซึ่งจะปราศจากการใช้ฮอร์โมนช่วยในการเติบโตและยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงวิธีการปลูกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

น้ำหนัก = 250 g./ซอง  ,  ราคา/ซอง = 420.-  ,  ราคา/กิโลกรัมละ = 1,680.-

(หมายเหตุ : ราคาสินค้าดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)


Doi Chaang Peaberry

กาแฟพีเบอร์รี่ คัดสรรเฉพาะผลกาแฟเมล็ดเดี่ยวหรือเมล็ดโทน กาแพีเบอร์รี่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมล็ดกาแฟชั้นคุณภาพ  มีรสชาติที่นุ่มนวลกลมกล่อม เจือความเปรี้ยวของผลไม้เล็กน้อย ผสานกลิ่นดอกไม้ เหมาะสำหรับคอกาแฟที่ชอบรสชาติโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร

น้ำหนัก = 250 g./ซอง  ,  ราคา/ซอง = 370.-  ,  ราคา/กิโลกรัมละ = 1,480.-

(หมายเหตุ : ราคาสินค้าดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)



Doi Chaang Peaberry

กาแฟพีเบอร์รี่ คัดสรรเฉพาะผลกาแฟเมล็ดเดี่ยวหรือเมล็ดโทน กาแพีเบอร์รี่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมล็ดกาแฟชั้นคุณภาพ  มีรสชาติที่นุ่มนวลกลมกล่อม เจือความเปรี้ยวของผลไม้เล็กน้อย ผสานกลิ่นดอกไม้ เหมาะสำหรับคอกาแฟที่ชอบรสชาติโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร

แบบกระป๋อง = 50 g./กระป๋อง  ,  ราคา/กระป๋อง = 300.- 

(หมายเหตุ : ราคาสินค้าดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)



Whole Bean Premium (Organic)

เมล็ดกาแฟ พรีเมี่ยม ออแกนิกส์ ได้รับการ Certified Organic จาก USDA และ EU โดยตรารับรองดังกล่าวเป็นการรับรองว่าสินค้านั้นมีการเพาะปลูก และบริหารจัดการพื้นที่ปลูกภายใต้ข้อกําหนดของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาและจากสหภาพยุโรป ซึ่งจะปราศจากการใช้ฮอร์โมนช่วยในการเติบโตและยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงวิธีการปลูกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีรสชาติที่เข้มพอดี พร้อมกับความเปรี้ยวเล็กน้อยคล้ายไวน์ขาว และกลิ่นหอมของดอกไม้ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกาแฟดอยช้าง ดื่มแล้วให้ความสดชื่น กลมกล่อม

น้ำหนัก = 250 g./ซอง  ,  ราคา/ซอง = 320.-  ,  ราคา/กิโลกรัมละ = 1,280.-

(หมายเหตุ : ราคาสินค้าดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)



Whole Bean AA Premium (Dark Roast)

กาแฟพรีเมี่ยม เกรด AA คั่วเข้ม เลือกใช้เมล็ดที่มีขนาดใหญ่ 7 มิลลิเมตรขึ้นไป รสชาติกาแฟที่เข้ม  ลงตัวตามแบบฉบับของกาแฟดอยช้าง

น้ำหนัก = 250 g./ซอง  ,  ราคา/ซอง = 320.-  ,  ราคา/กิโลกรัมละ = 1,280.-

(หมายเหตุ : ราคาสินค้าดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)



Whole Bean Premium

ลงตัวสำหรับทุกเมนู ด้วยรสชาติที่เข้มพอดี พร้อมกับความเปรี้ยวเล็กน้อยคล้ายไวน์ขาว และกลิ่นหอมของดอกไม้ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกาแฟดอยช้าง ดื่มแล้วให้ความสดชื่น กลมกล่อม เป็นเมล็ดกาแฟเกรดที่ร้านกาแฟดอยช้างส่วนใหญ่ใช้เสิร์ฟในร้าน

น้ำหนัก = 250 g./ซอง  ,  ราคา/ซอง = 250.-   ,   ราคา/กิโลกรัมละ = 1,000.-

(หมายเหตุ : ราคาสินค้าดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)



DOI CHAANG – WILD CIVET COFFEE

กาแฟขี้ชะมดดอยช้าง เป็นกาแฟที่เกิดจากชะมดป่าตามธรรมชาติ นำมาผ่านกระบวนการล้างให้สะอาด คั่วระดับกลาง ทำให้ได้คุณลักษณะทางด้านกลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกาแฟขี้ชะมดดอยช้าง เป็นกาแฟที่กลมกล่อมนุ่มนวน มีสีคล้ายช็อกโกแล็ต ชนิดเข้มที่มีลูกเกตมีความหวานคล้ายช็อกโกแล็ตบวกกับเชอร์รี่สด ที่มีความเป็นกรดแบบผลไม้คล้ายๆส้ม รสสัมผัสนุ่มละมุน

น้ำหนัก = 50 g./กระป๋อง ,  ราคา/กระป๋อง = 1,050.-

(หมายเหตุ : ราคาสินค้าดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

อ้างอิงจาก http://doichaangcoffee.co.th/


สนใจติดต่อ เบอร์โทร 087-7251581
Line ID : Khuntaiii 
หรืออินบล็อคมาสอบถามทางเฟสบุค : https://www.facebook.com/Taiitaiii-Coffee-Seed-945295982230636/?notif_t=page_fan

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น