Doi chaang
ที่ตั้งชุมชนบ้านดอยช้างมีลักษณะพิเศษคือ ภูมิประเทศที่มีภูเขาล้อมรอบสลับซับซ้อนมีความโดด เด่นเฉพาะ เป็นทางผ่านทิศทางของลม ท าให้มีลมพัดผ่านตลอดทั้งวัน และมีความสูงกว่า 1,200-1,800 เมตร จากน้ าทะเล ท าให้อากาศเย็นตลอดทั้งปี ซึ่งในฤดูหนาว อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 5 องศา สามารถมาท่องเที่ยวและ พักผ่อนชมความสวยงามของธรรมชาติ ความสูงของภูเขา ทะเลหมอก สัมผัสอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี และ ความหลากหลายวิถีชีวิตของชาติพันธุ์ ตลอดจนการศึกษากระบวนการปลูกกาแฟ การผลิต การแปรรูป และลิ้มรส กาแฟสด ที่หอมกรุ่นเข้มข้น กับบรรยากาศแวดล้อมธรรมชาติงดงาม การเดินทางท่องเที่ยวบ้านดอยช้าง เรายินดี ต้อนรับและบริการท่านด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน และพร้อมที่จะศึกษาและเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่หลากหลายและแตกต่าง เพื่อช่วยกันสร้างสังคม ที่มีความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกัน ชุมชนดอยช้าง ดอยช้างในอดีต เป็นชุมชนที่เก่าแก่กว่า 100 ปี เป็นชุมชนหนึ่งของชนเผ่าลีซู ซึ่งภาษาลีซู เรียกว่า “แลจวา” จากการบอกเล่าของผู้อาวุโสผู้เกิดและเติบโตที่นี่ ปัจจุบันมีอายุ 72 ปีตอนเป็นเด็กจะอยู่ร่วมกัน เป็นเครือญาติ จะปลูกบ้านแบบใกล้ๆกัน จะเป็นชุมชนขนาดเล็ก ดอยช้างมีไม่กี่ครอบครัวที่อยู่ด้วยกันตาม โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมของลีซู มีผู้น าวัฒนธรรม หมอยาสมุนไพร ประเพณี การด าเนินชีวิตอยู่กับ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในท่ามกลางป่าผืนใหญ่มีสัตว์ป่ามากมาย โดยเฉพาะเสือที่มักมากินสัตว์ เลี้ยงที่บ้าน หมู ม้า ไก่ เป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของลีซู ต่อมา ญาติพี่น้องที่อยู่ใกล้เคียงกันย้ายมาอยู่ร่วมกัน เป็น ชุมชนใหญ่ การเกษตร ปลูกข้าว ข้าวโพด ผัก ถั่ว เพื่อบริโภคและเพื่อเลี้ยงสัตว์ ภายในครอบครัวการอยู่ร่วมกัน ภายใต้ความเป็นพี่น้อง และความเป็นเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรกันให้ความช่วยเหลือกัน มีการแลกเปลี่ยนแรงงานกัน การแบ่งปันกัน มีการให้ยืมเป็นข้าวหรือสิ่งของเป็น สังคมพึ่งพากันและอยู่ร่วมกัน ปัจจุบันชุมชนดอยช้างมี ประชากรประมาณ 6,000 คน และจ านวนครัวเรือน ประมาณ 600 ครัวเรือน มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ลีซู อาข่า และจีนยูนนานอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่าง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งแต่ละ ชนเผ่ามีประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง ทั้งภาษา ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ซึ่งต่างก็เคารพและร่วม กิจกรรม ตามประเพณีในโอกาสต่างๆ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เมื่อมีงานเลี้ยงตามประเพณี ลีซูก็จะเชิญพี่น้องอาข่ามาร่วมงาน ทางพี่น้อง อาข่า และจีน เมื่อมีงานก็จะเชิญคนในชุมชนมาร่วมงานกัน เป็นการสร้างความ เข้าใจร่วมกัน เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยปราศจาก การแบ่งแยกกลุ่มหรือพวกพ้อง
ระบบเศรษฐกิจของดอยช้าง
กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของชุมชน เนื่องจากได้รับการส่งเสริมในการเพาะปลูกกาแฟบนพื้นที่ สูงมา ท าให้คนในชุมชน ได้เรียนรู้และพัฒนาประสบการณ์การเพาะปลูกกาแฟได้เป็นอย่างดี การคัดเลือกสายพันธุ์ การดูแลต้นกล้า การเพาะกล้ากาแฟ ตลอดจนกระบวนการดูแลกาแฟให้ได้คุณภาพที่ดี ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่มี ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ภูมิอากาศ ดิน น้ า ท าให้ได้ผลผลิตที่ดีและกาแฟที่ได้คุณภาพทั้งความหอมและ รสชาติที่เป็นเลิศดีที่สุดของประเทศไทย และมีผลผลิตทางการเกษตร เป็นพืชเมือง ตามฤดูกาล มะขาเดเมีย บ๊วย ลูกเชอรี่ ลูกพับ และยอดมะระหวาน (ซายูเต้)
กาแฟบ้านดอยช้าง
กาแฟบ้านดอยช้าง มีกลิ่นหอมกรุ่น ได้รสชาติที่กลมกล่อม ทุกคนที่ได้ดื่มกาแฟบ้านดอยช้างจะ ชอบประทับใจ กาแฟบ้านดอยช้างได้รับ การทดสอบคุณภาพ และได้ใบรับรองมาตรฐานคุณภาพกาแฟในระดับ นานาชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะภูมิประเทศ อากาศ ดิน น้ า ทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็น พื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกกาแฟ คนในชุมชนบ้านดอยช้างปลูกกาแฟมานานกว่า 30 ปี จากการบอกเล่าของ นายเบโน๊ะ หลีจา ผู้อาวุโสชนเผ่าลีซู อายุ 72 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านดอยช้างกว่า 30 ปี เขาเป็นคนบุกเบิกปลูกกาแฟ ดอยช้าง ขาเป็นผู้น าได้เดินทางไปประชุมกับทางอ าเภอ เห็นหมู่บ้านใกล้เคียงปลูกกาแฟไว้ จึงเกิดความสนใจ จากนั้นได้สอบถามเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้แนะน าให้ไปติดต่อ ที่นิคมสงเคราะห์แม่จัน เมื่อกลับมาที่หมู่บ้านดอยช้างได้ชวน ญาติพี่น้อง เพื่อที่จะเดินทาง ไปติดต่อขอกล้ากาแฟศูนย์นิคมฯ เมื่อไปถึง ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้่แนะน าว่าสายพันธุ์ ไหนที่ดี จึงเอากาแฟโรบัสต้า มาปลูกไว้บริเวณบ้าน ลักษณะต้นและใบจะใหญ่ ผลผลิตกาแฟติดน้อยมาก ปัจจุบัน ต้นกาแฟโรบัสต้ามีอยู่ ผู้น าได้ขอพันธุ์อาราบีก้าจากประชาสงเคราะห์ปลูกไว้ในสวน ในช่วงแรกได้ผลผลิตปริมาณไม่มาก ความรู้ในกระบวนการปลูกใช้ประสบการณ์เรียนรู้และทดลอง คนในชุมชนไม่ได้ใส่ใจในการปลูก ผลผลิตที่ปลูกไว้ ไม่ได้ขาย เนื่องจากขาดแหล่งตลาดรับซื้อ การขนส่งยาก เมื่อหน่วยประชาสงเคราะห์มาตั้งในชุมชน มีการส่งเสริม ให้ชุมชนปลูกแจกกล้ากาแฟให้กับครอบครัวลีซู และอาข่า ประมาณ 40 ครอบครัว เพื่อทดลองปลูกในปีต่อมากาแฟของ ผู้ใหญ่บ้าน ที่ปลูกไว้ก่อนสามารถน าไปขายที่เชียงใหม่ โดยสามารถขายได้ กิโลกรัมละ 30 บาท จึงเกิดความคิดว่า น่าจะมีตลาดและ ชาวบ้านเริ่มสนใจที่จะปลูกกาแฟกันมากขึ้น ส่วนกาแฟที่ปลูกไว้รุ่นแรกก็ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน ชุมชนได้มีการเรียนรู้และพัฒนาศักยาภาพการปลูกกาแฟมากขึ้น กระบวนการปลูกและวิธีการ ดูแลที่ดีได้รับการสนับสนุนข้อมูล จากหน่วยงาน รัฐในระดับหนึ่ง เมื่อหน่วยงานกรมวิชาการเกษตร มาตั้ง หน่วยงานในพื้นที่ดอยช้างได้ทดลองและพัฒนาสายพันธุ์กาแฟอาราบีก้า มีการเพาะกล้าและทดลองปลูกกาแฟ ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกมากขึ้น หลังจากนั้นไม่กี่ปี ก็มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ มากขึ้น รวมถึงส่งเสริมการ ปลูกไม้ผลหลายชนิด เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนมากขึ้น ส่วนด้านการตลาดเกษตรกรจะต้องจัดการเป็น ผู้หาตลาดเอง เมื่อผลผลิตกาแฟมีปริมาณจ านวนมาก ชุมชนมีการรวมกลุ่มที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ตาม ศักยภาพของแต่ละกลุ่มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมทั้งความรู้ และทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการลงทุนงบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยี ผู้ปลูกกาแฟ ในรูปวิสาหกิจชุมชน มีการแปรรูปกาแฟมากขึ้น และบางกลุ่มจดทะเบียนในรูป ของบริษัททางการเพื่อการค้าในตลาดในประเทศและต่างประเทศการเดินทางขึ้นสู่ดอยช้าง
มีเส้นทางขึ้นได้ 3 สาย คือ
1. สายอ าเภอแม่สรวย -บ้านตีนดอย-แสนเจริญ-ดอยล้าน-ดอยช้าง (ระยะทาง 28กิโลเมตร จากเชียงราย 75
กิโลเมตร) ถนนเป็นดินแดง รถ 4 WD ไปได้ แต่รถตู้ และรถเก๋งขึ้นไม่ได้
2. สายห้วยส้าน (อ.แม่ลาว) -ห้วยส้านลีซอ – เกษตรฯ - ดอยช้าง (ระยะทาง 15 กิโลเมตร) ถนนเป็นดินแดงและ
ทางขึ้นเขาสูง ถ้าเป็นรถ 4 WD ขึ้นได้ แต่รถตู้ และเก๋งขึ้นไม่ได้
3. สายอ าเภอแม่สรวย-บ้านตีนดอย- ริมเขื่อนแม่สรวย - ทุ่งพร้าว – ห้วยมะซาง-ห้วยขี้เหล็ก-ห้วยไคร้ - ดอยช้าง
(ระยะทาง 34 กิโลเมตร)
- 4
ที่มา http://123.242.165.136/document_file/document/I0170.pdf
กาแฟบ้านดอยช้าง มีกลิ่นหอมกรุ่น ได้รสชาติที่กลมกล่อม ทุกคนที่ได้ดื่มกาแฟบ้านดอยช้างจะ ชอบประทับใจ กาแฟบ้านดอยช้างได้รับ การทดสอบคุณภาพ และได้ใบรับรองมาตรฐานคุณภาพกาแฟในระดับ นานาชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะภูมิประเทศ อากาศ ดิน น้ า ทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็น พื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกกาแฟ คนในชุมชนบ้านดอยช้างปลูกกาแฟมานานกว่า 30 ปี จากการบอกเล่าของ นายเบโน๊ะ หลีจา ผู้อาวุโสชนเผ่าลีซู อายุ 72 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านดอยช้างกว่า 30 ปี เขาเป็นคนบุกเบิกปลูกกาแฟ ดอยช้าง ขาเป็นผู้น าได้เดินทางไปประชุมกับทางอ าเภอ เห็นหมู่บ้านใกล้เคียงปลูกกาแฟไว้ จึงเกิดความสนใจ จากนั้นได้สอบถามเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้แนะน าให้ไปติดต่อ ที่นิคมสงเคราะห์แม่จัน เมื่อกลับมาที่หมู่บ้านดอยช้างได้ชวน ญาติพี่น้อง เพื่อที่จะเดินทาง ไปติดต่อขอกล้ากาแฟศูนย์นิคมฯ เมื่อไปถึง ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้่แนะน าว่าสายพันธุ์ ไหนที่ดี จึงเอากาแฟโรบัสต้า มาปลูกไว้บริเวณบ้าน ลักษณะต้นและใบจะใหญ่ ผลผลิตกาแฟติดน้อยมาก ปัจจุบัน ต้นกาแฟโรบัสต้ามีอยู่ ผู้น าได้ขอพันธุ์อาราบีก้าจากประชาสงเคราะห์ปลูกไว้ในสวน ในช่วงแรกได้ผลผลิตปริมาณไม่มาก ความรู้ในกระบวนการปลูกใช้ประสบการณ์เรียนรู้และทดลอง คนในชุมชนไม่ได้ใส่ใจในการปลูก ผลผลิตที่ปลูกไว้ ไม่ได้ขาย เนื่องจากขาดแหล่งตลาดรับซื้อ การขนส่งยาก เมื่อหน่วยประชาสงเคราะห์มาตั้งในชุมชน มีการส่งเสริม ให้ชุมชนปลูกแจกกล้ากาแฟให้กับครอบครัวลีซู และอาข่า ประมาณ 40 ครอบครัว เพื่อทดลองปลูกในปีต่อมากาแฟของ ผู้ใหญ่บ้าน ที่ปลูกไว้ก่อนสามารถน าไปขายที่เชียงใหม่ โดยสามารถขายได้ กิโลกรัมละ 30 บาท จึงเกิดความคิดว่า น่าจะมีตลาดและ ชาวบ้านเริ่มสนใจที่จะปลูกกาแฟกันมากขึ้น ส่วนกาแฟที่ปลูกไว้รุ่นแรกก็ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน ชุมชนได้มีการเรียนรู้และพัฒนาศักยาภาพการปลูกกาแฟมากขึ้น กระบวนการปลูกและวิธีการ ดูแลที่ดีได้รับการสนับสนุนข้อมูล จากหน่วยงาน รัฐในระดับหนึ่ง เมื่อหน่วยงานกรมวิชาการเกษตร มาตั้ง หน่วยงานในพื้นที่ดอยช้างได้ทดลองและพัฒนาสายพันธุ์กาแฟอาราบีก้า มีการเพาะกล้าและทดลองปลูกกาแฟ ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกมากขึ้น หลังจากนั้นไม่กี่ปี ก็มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ มากขึ้น รวมถึงส่งเสริมการ ปลูกไม้ผลหลายชนิด เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนมากขึ้น ส่วนด้านการตลาดเกษตรกรจะต้องจัดการเป็น ผู้หาตลาดเอง เมื่อผลผลิตกาแฟมีปริมาณจ านวนมาก ชุมชนมีการรวมกลุ่มที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ตาม ศักยภาพของแต่ละกลุ่มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมทั้งความรู้ และทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการลงทุนงบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยี ผู้ปลูกกาแฟ ในรูปวิสาหกิจชุมชน มีการแปรรูปกาแฟมากขึ้น และบางกลุ่มจดทะเบียนในรูป ของบริษัททางการเพื่อการค้าในตลาดในประเทศและต่างประเทศการเดินทางขึ้นสู่ดอยช้าง
มีเส้นทางขึ้นได้ 3 สาย คือ
1. สายอ าเภอแม่สรวย -บ้านตีนดอย-แสนเจริญ-ดอยล้าน-ดอยช้าง (ระยะทาง 28กิโลเมตร จากเชียงราย 75
กิโลเมตร) ถนนเป็นดินแดง รถ 4 WD ไปได้ แต่รถตู้ และรถเก๋งขึ้นไม่ได้
2. สายห้วยส้าน (อ.แม่ลาว) -ห้วยส้านลีซอ – เกษตรฯ - ดอยช้าง (ระยะทาง 15 กิโลเมตร) ถนนเป็นดินแดงและ
ทางขึ้นเขาสูง ถ้าเป็นรถ 4 WD ขึ้นได้ แต่รถตู้ และเก๋งขึ้นไม่ได้
3. สายอ าเภอแม่สรวย-บ้านตีนดอย- ริมเขื่อนแม่สรวย - ทุ่งพร้าว – ห้วยมะซาง-ห้วยขี้เหล็ก-ห้วยไคร้ - ดอยช้าง
(ระยะทาง 34 กิโลเมตร)
- 4
ที่มา http://123.242.165.136/document_file/document/I0170.pdf
ที่มา http://123.242.165.136/document_file/document/I0170.pdf
แกะรอย “ดอยช้าง” อาณาจักรกาแฟพันล้าน
“จากแหล่งปลูกฝิ่นขนาดยักษ์… กลายมาเป็นอาณาจักรกาแฟพันล้าน… ความภาคภูมิใจที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยได้รับรู้”
ย้อนไปเมื่อ 8 ปีก่อน สมัยที่ “กาแฟ” ผลิตภัณฑ์ของชาวเขาชาวดอยถูกกดราคาให้เหลือเพียงกิโลกรัมละ 10 – 12 บาท “อาเดล”ผู้ใหญ่บ้านดอยช้างในขณะนั้นตัดสินใจระหกระเหินเดินทางลงจากดอยเพื่อไปหาชายคนหนึ่งนาม วิชา พรหมยงค์ ชายผู้ซึ่งไม่มีความรู้เรื่องกาแฟแม้แต่น้อย (แต่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในเรื่องการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า) ด้วยสัมพันธภาพอันดีและความตั้งใจจริง ทั้งคู่เดินทางกลับขึ้นมาที่ดอยช้างเพียงเพื่อหวังจะแก้ไขปัญหาปากท้องและการกดราคาเมล็ดกาแฟ แต่นั่นเองกลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของแวดวงธุรกิจกาแฟไทย…ที่ในวันนี้ได้ก้าวไกลไปสู่ระดับแนวหน้าของโลกแล้ว
TCDCCONNECT ขอพาคุณไปทำความรู้จักกับ “อาณาจักรกาแฟพันล้าน” ที่บริหารงานด้วยทฤษฎีลองทำๆ ไป เดี๋ยวก็รู้ (หรือเรียกให้หรูว่า Learning by Doing) กับหลักสูตร MBA ไร้ตำรา ที่พัฒนาขึ้นจากสองมือและหยาดเหงื่อของชาวดอย (ผู้สำเร็จการศึกษาสูงสุดแค่ชั้นป. 4) นี่อาจเป็นองค์กรที่แปลกประหลาดที่สุดในโลก เพราะว่าไม่ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขายึดคติว่าของดีไม่ต้องโฆษณา เดี๋ยวก็มีคนบอกต่อเอง (เชื่อใน Word of Mouth) แถมยังเน้นการบริหารจัดการแบบ “อยู่ร่วมกันและช่วยเหลือเกื้อกูล” มากกว่าที่จะยึดติดกับตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ที่มีไว้เพื่อติดต่อกับ ‘คนแปลกหน้า’ เท่านั้น
วันนี้เราได้คุยกับคุณวิชา พรหมยงค์ ผู้บุกเบิกและผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนธุรกิจกาแฟดอยช้าง
จุดเริ่มต้นของกาแฟดอยช้าง “แรกๆ ต้องบอกเลยว่า เราไม่แน่ใจในอะไรสักอย่าง ตอนแรกที่ผมตามอาเดลขึ้นไปที่ดอยช้าง บนนั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ปลูกอยู่ กาแฟคือสิ่งที่ผมเห็นเป็นรูปธรรมที่สุด เมื่อของมันมีอยู่แล้วเราก็ทำไป ไม่ได้คิดหรอกว่ามันจะมาไกลจนถึงวันนี้”
“ทีแรกผมคิดแค่ว่าจะขยายพื้นที่เพาะปลูกให้ได้สัก 2,000 ไร่ แค่ให้มีปริมาณมากพอที่จะนำมาขายคนกรุงเทพฯ ได้ โดยตั้งใจจะขายให้ได้กิโลกรัมละ 60 – 65 บาท เอาแค่ให้พี่น้องเราอยู่ได้ครับ แต่ทีนี้พอผมศึกษาลึกลงไปจริงๆ กลับพบว่าคุณภาพของกาแฟดอยช้างนั้นสูงมาก สามารถเข้าไปอยู่ในกลุ่มกาแฟหลักพันบาทได้เลย จากนั้นผมก็เลยศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ดูทุกอย่างที่เขาทำกันในโลก ทั้งจากที่โคลัมเบีย คอสตาริก้า เคนย่า ฮาวาย ฯลฯ ตั้งแต่เรื่องกระบวนการคั่ว กระบวนการผลิตแบบครบวงจร เพราะมันจะทำรายได้ให้เรามากกว่าการขายเมล็ดกาแฟดิบอย่างเดียวครับ”
“จนทุกวันนี้ผมพูดได้เลยว่า ดอยช้างคือแหล่งผลิตกาแฟแห่งเดียวในโลกที่ผลิตกาแฟแบบครบวงจร นับตั้งแต่ปลูก เก็บผลผลิต คั่ว ส่งออก และขายเป็นกาแฟสำเร็จรูป”
ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างแบรนด์ไทยในตลาดโลก “ผมขึ้นมาที่ดอยช้างนี่เมื่อประมาณ 8 ปีก่อน ไม่อยากจะใช้คำว่ามา ‘ช่วย’ หรอกครับ เรียกว่ามา ‘อยู่ร่วมกัน’ ดีกว่า ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าการที่คนเราได้มีโอกาสมาพบกัน มาอยู่ร่วมกัน มาเรียนรู้และสร้างงานร่วมกันด้วยความจริงใจนั้น มันเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากคนบนดอยช้างก็ไม่ใช่ว่าจะเก่งกาจมาจากไหน ตัวผมเองก็เรียนหนังสือมาน้อย ส่วนอาเดลเรียนจบแค่ ป.2 คนอื่นๆ ก็จบป.4 บางคนก็ไม่มีการศึกษาเลยด้วยซ้ำ ฉะนั้นถ้าถามว่าอะไรทำให้แบรนด์ดอยช้างมาไกลได้ถึงขนาดนี้ ผมตอบได้คำเดียวว่าเพราะความตั้งใจครับ”
“ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี เรากลายเป็นสุดยอดกาแฟระดับโลกที่ได้ Organic Certification ของ USDA, Organic Farming ของ E.U. และได้คะแนน Cup Testing Quality 93% จากการส่งกาแฟ Single Estate Pea Berry Medium Roast (กาแฟตัวท็อปของดอยช้าง) ไปแข่งขันตรวจสอบเรื่องคุณภาพที่สถาบันใหญ่ 2 แห่ง คือ Coffee Cupper และ Coffee Review ถือว่าเราได้เรทติ้งที่สูงมากแบบไม่คาดคิดมาก่อนครับ”
ยิ่งใหญ่ในเวทีสากล “เราตั้งเป้าไว้ว่าจะขายที่เมืองไทยประมาณ 3% ครับ มากที่สุดก็ไม่เกิน 5% ที่เหลือจะส่งไปขายในร้านระดับท็อปๆ ของโลก ที่เราทำตลาดในต่างประเทศมากกว่าในประเทศนั้น เป็นเพราะสมัยก่อนไม่มีใครยอมรับเรา เราเคยได้พยายามนำเสนอกาแฟดอยช้างให้กับคนไทยแล้ว แต่มันขายไม่ได้เลยน่ะสิ ผมว่าอาจเป็นเพราะสมัยก่อนคนไทยยังกินกาแฟไม่เป็น เห็นน้ำดำๆ ก็เรียกกันว่ากาแฟแล้ว”
“เราจำเป็นต้องออกไปเสนอตัวยังต่างประเทศ ส่งผลิตภัณฑ์ไปทำ Cup Testing จนได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่า ‘กาแฟดอยช้าง’ เป็นกาแฟที่ดีมาก เราใช้เวลากว่า 4 ปี ในการปรับปรุงคุณภาพนะ พอเราทำได้ในระดับท็อปของโลก เราก็อยากกลับมาทำตลาดในประเทศบ้าง เพราะอยากให้คนไทยได้ดื่มกาแฟดีๆ ในราคาที่เหมาะสม”
เอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างความรู้สึกพิเศษ “กาแฟดอยช้างเป็นกาแฟตัวหนึ่งที่ได้รับคำชมเชยอย่างมากจากผู้คั่ว (ไม่ใช่ผู้บริโภค) เขาชมกันมามากมายว่า ไม่ว่าจะคั่วยังไงก็ได้รสชาติอร่อย เมื่อคั่วอ่อนที่สุดก็จะเจอคาแร็คเตอร์แบบหนึ่ง คั่วปานกลางก็จะเจอคาแร็คเตอร์อีกแบบหนึ่ง ทุกสเต็ปตั้งแต่อ่อนสุดไปจนถึงเข้มสุด กาแฟเรารสชาติดีหมด ซึ่งกาแฟลักษณะนี้หายไปนานกว่า 30 ปีแล้ว”
นอกจากนั้นเรายังสามารถเบลนด์กาแฟคั่วอ่อนกับกาแฟคั่วเข้มเข้าไว้ด้วยกัน จนเกิดเป็นคาแร็คเตอร์ใหม่ซึ่งได้รับความนิยมและขายดีมากในประเทศแคนาดา จะว่าไปแล้วทุกอย่างเริ่มต้นจากความคิดที่ว่า เราอยากผลิตกาแฟดีมีคุณภาพ ส่วนในเรื่องของรสชาติ …มันเป็นสิ่งที่ตามมาเอง”
ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท สู่ความภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ “คนไทยควรภาคภูมิใจนะ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ปลูกกาแฟเองโดยไม่เคยเป็นอาณานิคมใคร เพราะตั้งแต่สมัยโบราณ กาแฟ อ้อย ฝ้าย ฯลฯ เขาจะปลูกกันในพื้นที่ที่เป็นอาณานิคมของประเทศอื่น แต่เราพัฒนาของเราเองหมด โดยเฉพาะกาแฟอราบิก้าที่ต้องปลูกบนที่สูง (บนดอย) ดอยช้างนั้นแต่เดิมเป็นแหล่งปลูกฝิ่นที่มีพื้นที่ใหญ่มาก (และมีคุณภาพดีที่สุด) แต่เมื่อพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวคิดให้ปลูกกาแฟทดแทนการปลูกฝิ่น พระองค์ท่านก็ได้พระราชทานสายพันธุ์กาแฟดีๆ ให้เรา ซึ่งบนดอยช้างเรามีอยู่ 3 สายพันธุ์หลัก คือ คาทูร่า คาทุย และคาติมอร์ ซึ่งแต่ละตัวก็เป็นตัวท็อประดับโลกครับ”
“ผมกล้าพูดได้เลยว่า โครงการในพระราชดำริของในหลวง 99.9% สามารถทำได้หมด หลายๆ อย่างอาจต้องใช้เวลากว่าจะหยั่งรากลึกให้เกษตรกรมีความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่างเช่น โครงการในพระราชดำริที่ส่งเสริมให้ชาวเขาทำไร่กาแฟทดแทนไร่ฝิ่นนี่เราเริ่มต้นกันตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ (ไทย – เยอรมัน) และกรมวิชาการเกษตรที่ได้นำสายพันธุ์กาแฟที่ดีมาให้วิจัยพัฒนา พร้อมตั้งศูนย์ค้นคว้าทดลองต่างๆ ไว้ที่บนดอยนี่แหละ”
ดอยช้าง อะคาเดมี่ ออฟ คอฟฟี่ (Doi Chang Academy of Coffee) “เราสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อสอนทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับกาแฟ โดยเราเชิญอาจารย์จากหลายๆ แห่งมาสอน วิเคราะห์ วิจัย เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกร ทุกวันนี้มีพี่น้องเกษตรกรจากที่อื่นๆ ตลอดจนสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศมาขอเรียนกับเรา ทั้งในเรื่องของกาแฟและเรื่องการสร้างชุมชน เขาอยากรู้ว่าเราสามารถสร้างชุมชนเล็กๆ สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสร้างตราสินค้าที่โด่งดังไปทั่วโลกได้อย่างไร ซึ่งเราไม่หวงวิชาความรู้หรอกครับ ความรู้เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรแบ่งปันกัน”
จาก “คอฟฟี่” สู่ “คอสเมติกส์” และความฝันในอนาคตของ “ดอยช้าง” นอกจากเรื่องกาแฟแล้ว เรายังมีแผนจะแตกไลน์ธุรกิจใหม่ จะเปิดบริษัทใหม่ชื่อว่า ‘ดอยช้าง คอฟฟี่ คอสเมติกส์’ โดยเราจะเอากาแฟคุณภาพต่ำลงมา (ที่ไม่ใช่เกรดของกาแฟชงดื่ม) มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอื่น เช่น สบู่กาแฟเอสเพรสโซ่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่เราทำออกมา ตอนนี้ได้กลายเป็นสินค้าขายดีในประเทศเกาหลีไปแล้ว นอกจากนั้นเราก็กำลังศึกษาวิจัยเรื่องการทำเดย์ครีมและไนท์ครีมจากกาแฟ โดยทีมงานก็เป็นพี่น้องบนดอยนี่แหละ เป็นคนรุ่นลูกรุ่นหลานที่เป็นผู้หญิงล้วนๆ ก็ช่วยกันบริหารจัดการกันเอง”
“เคยมีคนถามผมว่า ‘เป็นไปได้จริงหรือที่ในอนาคตดอยช้างจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนถึง 5,000 พันล้านบาท’
ผมตอบเลยว่า ง่ายมากถ้าไม่ฆ่าตัวตายเสียก่อน อย่างตอนนี้กาแฟดอยช้างในเมืองไทยขายอยู่กิโลกรัมละ 1,000 – 1,600 บาท ในต่างประเทศราคาอยู่ที่ 60 – 200 เหรียญ เพราะฉะนั้นถ้าเราขาย 1,000 ตัน ได้ตันละ 1 ล้าน ถ้าผลิตได้ 5,000 ตัน ก็คือ 5,000 ล้านแล้ว”
แต่เป้าหมายของเราไม่ได้อยู่แค่ตรงนั้น ในอนาคตเราตั้งเป้าว่าจะไม่ขายเมล็ดกาแฟดิบ แต่จะขายเฉพาะกาแฟแปรรูปที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเราได้ ที่สำคัญเราอยากเอาเม็ดเงินที่ได้สร้างร่วมกันนี้ไปสร้างโอกาสให้คนรุ่นต่อๆ ไป โดยมีแผนการจะเปิดเป็นมูลนิธิดอยช้าง นำเงินไปสร้างสนามฟุตบอล สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล ฯลฯ และถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะสร้างดาวเทียมของเราเองในอนาคต”
“จากแหล่งปลูกฝิ่นขนาดยักษ์… กลายมาเป็นอาณาจักรกาแฟพันล้าน… ความภาคภูมิใจที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยได้รับรู้”
ย้อนไปเมื่อ 8 ปีก่อน สมัยที่ “กาแฟ” ผลิตภัณฑ์ของชาวเขาชาวดอยถูกกดราคาให้เหลือเพียงกิโลกรัมละ 10 – 12 บาท “อาเดล”ผู้ใหญ่บ้านดอยช้างในขณะนั้นตัดสินใจระหกระเหินเดินทางลงจากดอยเพื่อไปหาชายคนหนึ่งนาม วิชา พรหมยงค์ ชายผู้ซึ่งไม่มีความรู้เรื่องกาแฟแม้แต่น้อย (แต่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในเรื่องการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า) ด้วยสัมพันธภาพอันดีและความตั้งใจจริง ทั้งคู่เดินทางกลับขึ้นมาที่ดอยช้างเพียงเพื่อหวังจะแก้ไขปัญหาปากท้องและการกดราคาเมล็ดกาแฟ แต่นั่นเองกลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของแวดวงธุรกิจกาแฟไทย…ที่ในวันนี้ได้ก้าวไกลไปสู่ระดับแนวหน้าของโลกแล้ว
TCDCCONNECT ขอพาคุณไปทำความรู้จักกับ “อาณาจักรกาแฟพันล้าน” ที่บริหารงานด้วยทฤษฎีลองทำๆ ไป เดี๋ยวก็รู้ (หรือเรียกให้หรูว่า Learning by Doing) กับหลักสูตร MBA ไร้ตำรา ที่พัฒนาขึ้นจากสองมือและหยาดเหงื่อของชาวดอย (ผู้สำเร็จการศึกษาสูงสุดแค่ชั้นป. 4) นี่อาจเป็นองค์กรที่แปลกประหลาดที่สุดในโลก เพราะว่าไม่ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขายึดคติว่าของดีไม่ต้องโฆษณา เดี๋ยวก็มีคนบอกต่อเอง (เชื่อใน Word of Mouth) แถมยังเน้นการบริหารจัดการแบบ “อยู่ร่วมกันและช่วยเหลือเกื้อกูล” มากกว่าที่จะยึดติดกับตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ที่มีไว้เพื่อติดต่อกับ ‘คนแปลกหน้า’ เท่านั้น
วันนี้เราได้คุยกับคุณวิชา พรหมยงค์ ผู้บุกเบิกและผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนธุรกิจกาแฟดอยช้าง
จุดเริ่มต้นของกาแฟดอยช้าง “แรกๆ ต้องบอกเลยว่า เราไม่แน่ใจในอะไรสักอย่าง ตอนแรกที่ผมตามอาเดลขึ้นไปที่ดอยช้าง บนนั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ปลูกอยู่ กาแฟคือสิ่งที่ผมเห็นเป็นรูปธรรมที่สุด เมื่อของมันมีอยู่แล้วเราก็ทำไป ไม่ได้คิดหรอกว่ามันจะมาไกลจนถึงวันนี้”
“ทีแรกผมคิดแค่ว่าจะขยายพื้นที่เพาะปลูกให้ได้สัก 2,000 ไร่ แค่ให้มีปริมาณมากพอที่จะนำมาขายคนกรุงเทพฯ ได้ โดยตั้งใจจะขายให้ได้กิโลกรัมละ 60 – 65 บาท เอาแค่ให้พี่น้องเราอยู่ได้ครับ แต่ทีนี้พอผมศึกษาลึกลงไปจริงๆ กลับพบว่าคุณภาพของกาแฟดอยช้างนั้นสูงมาก สามารถเข้าไปอยู่ในกลุ่มกาแฟหลักพันบาทได้เลย จากนั้นผมก็เลยศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ดูทุกอย่างที่เขาทำกันในโลก ทั้งจากที่โคลัมเบีย คอสตาริก้า เคนย่า ฮาวาย ฯลฯ ตั้งแต่เรื่องกระบวนการคั่ว กระบวนการผลิตแบบครบวงจร เพราะมันจะทำรายได้ให้เรามากกว่าการขายเมล็ดกาแฟดิบอย่างเดียวครับ”
“จนทุกวันนี้ผมพูดได้เลยว่า ดอยช้างคือแหล่งผลิตกาแฟแห่งเดียวในโลกที่ผลิตกาแฟแบบครบวงจร นับตั้งแต่ปลูก เก็บผลผลิต คั่ว ส่งออก และขายเป็นกาแฟสำเร็จรูป”
ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างแบรนด์ไทยในตลาดโลก “ผมขึ้นมาที่ดอยช้างนี่เมื่อประมาณ 8 ปีก่อน ไม่อยากจะใช้คำว่ามา ‘ช่วย’ หรอกครับ เรียกว่ามา ‘อยู่ร่วมกัน’ ดีกว่า ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าการที่คนเราได้มีโอกาสมาพบกัน มาอยู่ร่วมกัน มาเรียนรู้และสร้างงานร่วมกันด้วยความจริงใจนั้น มันเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากคนบนดอยช้างก็ไม่ใช่ว่าจะเก่งกาจมาจากไหน ตัวผมเองก็เรียนหนังสือมาน้อย ส่วนอาเดลเรียนจบแค่ ป.2 คนอื่นๆ ก็จบป.4 บางคนก็ไม่มีการศึกษาเลยด้วยซ้ำ ฉะนั้นถ้าถามว่าอะไรทำให้แบรนด์ดอยช้างมาไกลได้ถึงขนาดนี้ ผมตอบได้คำเดียวว่าเพราะความตั้งใจครับ”
“ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี เรากลายเป็นสุดยอดกาแฟระดับโลกที่ได้ Organic Certification ของ USDA, Organic Farming ของ E.U. และได้คะแนน Cup Testing Quality 93% จากการส่งกาแฟ Single Estate Pea Berry Medium Roast (กาแฟตัวท็อปของดอยช้าง) ไปแข่งขันตรวจสอบเรื่องคุณภาพที่สถาบันใหญ่ 2 แห่ง คือ Coffee Cupper และ Coffee Review ถือว่าเราได้เรทติ้งที่สูงมากแบบไม่คาดคิดมาก่อนครับ”
ยิ่งใหญ่ในเวทีสากล “เราตั้งเป้าไว้ว่าจะขายที่เมืองไทยประมาณ 3% ครับ มากที่สุดก็ไม่เกิน 5% ที่เหลือจะส่งไปขายในร้านระดับท็อปๆ ของโลก ที่เราทำตลาดในต่างประเทศมากกว่าในประเทศนั้น เป็นเพราะสมัยก่อนไม่มีใครยอมรับเรา เราเคยได้พยายามนำเสนอกาแฟดอยช้างให้กับคนไทยแล้ว แต่มันขายไม่ได้เลยน่ะสิ ผมว่าอาจเป็นเพราะสมัยก่อนคนไทยยังกินกาแฟไม่เป็น เห็นน้ำดำๆ ก็เรียกกันว่ากาแฟแล้ว”
“เราจำเป็นต้องออกไปเสนอตัวยังต่างประเทศ ส่งผลิตภัณฑ์ไปทำ Cup Testing จนได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่า ‘กาแฟดอยช้าง’ เป็นกาแฟที่ดีมาก เราใช้เวลากว่า 4 ปี ในการปรับปรุงคุณภาพนะ พอเราทำได้ในระดับท็อปของโลก เราก็อยากกลับมาทำตลาดในประเทศบ้าง เพราะอยากให้คนไทยได้ดื่มกาแฟดีๆ ในราคาที่เหมาะสม”
เอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างความรู้สึกพิเศษ “กาแฟดอยช้างเป็นกาแฟตัวหนึ่งที่ได้รับคำชมเชยอย่างมากจากผู้คั่ว (ไม่ใช่ผู้บริโภค) เขาชมกันมามากมายว่า ไม่ว่าจะคั่วยังไงก็ได้รสชาติอร่อย เมื่อคั่วอ่อนที่สุดก็จะเจอคาแร็คเตอร์แบบหนึ่ง คั่วปานกลางก็จะเจอคาแร็คเตอร์อีกแบบหนึ่ง ทุกสเต็ปตั้งแต่อ่อนสุดไปจนถึงเข้มสุด กาแฟเรารสชาติดีหมด ซึ่งกาแฟลักษณะนี้หายไปนานกว่า 30 ปีแล้ว”
นอกจากนั้นเรายังสามารถเบลนด์กาแฟคั่วอ่อนกับกาแฟคั่วเข้มเข้าไว้ด้วยกัน จนเกิดเป็นคาแร็คเตอร์ใหม่ซึ่งได้รับความนิยมและขายดีมากในประเทศแคนาดา จะว่าไปแล้วทุกอย่างเริ่มต้นจากความคิดที่ว่า เราอยากผลิตกาแฟดีมีคุณภาพ ส่วนในเรื่องของรสชาติ …มันเป็นสิ่งที่ตามมาเอง”
ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท สู่ความภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ “คนไทยควรภาคภูมิใจนะ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ปลูกกาแฟเองโดยไม่เคยเป็นอาณานิคมใคร เพราะตั้งแต่สมัยโบราณ กาแฟ อ้อย ฝ้าย ฯลฯ เขาจะปลูกกันในพื้นที่ที่เป็นอาณานิคมของประเทศอื่น แต่เราพัฒนาของเราเองหมด โดยเฉพาะกาแฟอราบิก้าที่ต้องปลูกบนที่สูง (บนดอย) ดอยช้างนั้นแต่เดิมเป็นแหล่งปลูกฝิ่นที่มีพื้นที่ใหญ่มาก (และมีคุณภาพดีที่สุด) แต่เมื่อพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวคิดให้ปลูกกาแฟทดแทนการปลูกฝิ่น พระองค์ท่านก็ได้พระราชทานสายพันธุ์กาแฟดีๆ ให้เรา ซึ่งบนดอยช้างเรามีอยู่ 3 สายพันธุ์หลัก คือ คาทูร่า คาทุย และคาติมอร์ ซึ่งแต่ละตัวก็เป็นตัวท็อประดับโลกครับ”
“ผมกล้าพูดได้เลยว่า โครงการในพระราชดำริของในหลวง 99.9% สามารถทำได้หมด หลายๆ อย่างอาจต้องใช้เวลากว่าจะหยั่งรากลึกให้เกษตรกรมีความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่างเช่น โครงการในพระราชดำริที่ส่งเสริมให้ชาวเขาทำไร่กาแฟทดแทนไร่ฝิ่นนี่เราเริ่มต้นกันตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ (ไทย – เยอรมัน) และกรมวิชาการเกษตรที่ได้นำสายพันธุ์กาแฟที่ดีมาให้วิจัยพัฒนา พร้อมตั้งศูนย์ค้นคว้าทดลองต่างๆ ไว้ที่บนดอยนี่แหละ”
ดอยช้าง อะคาเดมี่ ออฟ คอฟฟี่ (Doi Chang Academy of Coffee) “เราสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อสอนทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับกาแฟ โดยเราเชิญอาจารย์จากหลายๆ แห่งมาสอน วิเคราะห์ วิจัย เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกร ทุกวันนี้มีพี่น้องเกษตรกรจากที่อื่นๆ ตลอดจนสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศมาขอเรียนกับเรา ทั้งในเรื่องของกาแฟและเรื่องการสร้างชุมชน เขาอยากรู้ว่าเราสามารถสร้างชุมชนเล็กๆ สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสร้างตราสินค้าที่โด่งดังไปทั่วโลกได้อย่างไร ซึ่งเราไม่หวงวิชาความรู้หรอกครับ ความรู้เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรแบ่งปันกัน”
จาก “คอฟฟี่” สู่ “คอสเมติกส์” และความฝันในอนาคตของ “ดอยช้าง” นอกจากเรื่องกาแฟแล้ว เรายังมีแผนจะแตกไลน์ธุรกิจใหม่ จะเปิดบริษัทใหม่ชื่อว่า ‘ดอยช้าง คอฟฟี่ คอสเมติกส์’ โดยเราจะเอากาแฟคุณภาพต่ำลงมา (ที่ไม่ใช่เกรดของกาแฟชงดื่ม) มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอื่น เช่น สบู่กาแฟเอสเพรสโซ่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่เราทำออกมา ตอนนี้ได้กลายเป็นสินค้าขายดีในประเทศเกาหลีไปแล้ว นอกจากนั้นเราก็กำลังศึกษาวิจัยเรื่องการทำเดย์ครีมและไนท์ครีมจากกาแฟ โดยทีมงานก็เป็นพี่น้องบนดอยนี่แหละ เป็นคนรุ่นลูกรุ่นหลานที่เป็นผู้หญิงล้วนๆ ก็ช่วยกันบริหารจัดการกันเอง”
“เคยมีคนถามผมว่า ‘เป็นไปได้จริงหรือที่ในอนาคตดอยช้างจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนถึง 5,000 พันล้านบาท’
ผมตอบเลยว่า ง่ายมากถ้าไม่ฆ่าตัวตายเสียก่อน อย่างตอนนี้กาแฟดอยช้างในเมืองไทยขายอยู่กิโลกรัมละ 1,000 – 1,600 บาท ในต่างประเทศราคาอยู่ที่ 60 – 200 เหรียญ เพราะฉะนั้นถ้าเราขาย 1,000 ตัน ได้ตันละ 1 ล้าน ถ้าผลิตได้ 5,000 ตัน ก็คือ 5,000 ล้านแล้ว”
แต่เป้าหมายของเราไม่ได้อยู่แค่ตรงนั้น ในอนาคตเราตั้งเป้าว่าจะไม่ขายเมล็ดกาแฟดิบ แต่จะขายเฉพาะกาแฟแปรรูปที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเราได้ ที่สำคัญเราอยากเอาเม็ดเงินที่ได้สร้างร่วมกันนี้ไปสร้างโอกาสให้คนรุ่นต่อๆ ไป โดยมีแผนการจะเปิดเป็นมูลนิธิดอยช้าง นำเงินไปสร้างสนามฟุตบอล สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล ฯลฯ และถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะสร้างดาวเทียมของเราเองในอนาคต”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น